บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันที่ 7 กันยายน 2558
สิ่งที่เรียนในวันนี้
1. ทำกิจกรรมเล่นเกม "ไร่สตรอเบอรี่"
2. เรียนเรื่องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย
3.ทำกิจกรรมวาดภาพระบายสีจากวัสดุธรรมชาติ
4.ร้องเพลงใหม่และทบทวนเพลงเดิม
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
- แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ "Guilford"
- อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
- ภาพ
- สัญลักษณ์
- ภาษา
- พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง)
- การรู้และเข้าใจ
- การจำ
- การคิดแบบอเนกนัย
- การคิดแบบเอกมัย
- การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
- หน่วย
- จำพวก
- ความสัมพันธ์
- ระบบ
- การแปลงรูป
- การประยุกต์
ทฤษฎีของ(Constructivism)
- เด็กเรียนรู้เอง
- เด็กคิดเอง
- ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
ทฤษฎีของ (Torrance)
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมุติฐานและเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
- ขั้นที่ 1 การพบความจริง
- ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
- ขั้นที่ 3 การตั้งสมมุติฐาน
- ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
- ขั้นที่ 5 ยอมรับผล
บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- เด็กรู้สึกปลอดภัย
- ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
- ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
- ขจัดอุปสรรค
- ไม่มีการแข่งขัน
- ให้ความสนใจเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
- มีไหวพริบ
- มีอารมณ์ขัน
- กล้าแสดงออก
- มีสมาธิ
- อยากรู้อยากเห็น
- รักอิสระ
- ช่างสังเกต
- มั่นใจในตนเอง
- อารมณ์อ่อนไหวง่าย
- ไม่ชอบการบังคับ
- ชอบเหม่อลอย
- ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ
- มีความวิจิตรพิสดาร
- ชอบสร้างแล้วรื้อ รื้อแล้วสร้างใหม่
- ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
- ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง(Incompleteness,Openness)
- ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมาและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์(Producing Something Using Ig)
- ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก(Using Pupil Question)
ภาพประกอบการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น